Background



ข่าวประชาสัมพันธ์
พระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ. 2540 ประเภท บทความ จำนวน 5 เรื่อง 1. บทความเรื่อง ขอสินเชื่อสู้โควิดหน่อยครับ 2.บทความเรื่อง ขอตรวจสอบคุ่สมรสของลูกหนี้ 3. บทความเรื่อง มีสิทธิขอแต่ไม่ควรได้ 4. บทความเรื่อง เงินบริจาคอยู่ไหน 5. บทความเรื่อง มีจรรยาบรรณหรือเปล่า
28 พฤษภาคม 2564

419


                                                   
                                                                                                                                    บทความ อ. ๑๖/๒๕๖๔
                                                                                                                                   วรรธนพงศ์ คําดี
 
                                                   ขอสินเชื่อสู้โควิดหน่อยครับ
 
 การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา (COVID-19) ส่งผลกระทบต่อการทํามาหากินของ
ประชาชนมากมาย ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมจึงมีโครงการสินเชื่อต้นทุนต่ํา Soft Loan ธปท.
เพื่อช่วยเหลือลูกหนี้ที่ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา (COVID-19) นายผิดหวัง
ซึ่งเป็นลูกค้าเก่าของธนาคารจึงยื่นคําขอสินเชื่อกับธนาคารตามโครงการดังกล่าว แต่ปรากฏว่า ธนาคารได้แจ้งผลการ
ปฏิเสธคําขอสินเชื่อให้นายผิดหวังทราบ พร้อมแจ้งเหตุผลที่ไม่สามารถให้การสนับสนุนสินเชื่อได้ นายผิดหวังจึงมี
หนังสือถึงธนาคาร ขอข้อมูลข่าวสารจํานวน ๔ รายการ คือ ๑) ที่มาของผู้กู้ไม่มีความสามารถในการชําระหนี้ที่ขอ
สินเชื่อ ๒) คําขอสินเชื่อ ๓) เอกสารประกอบการพิจารณา ๔) นโยบาย Soft Loan ธปท. ธนาคารแจ้งปฏิเสธการ
เปิดเผยข้อมูลข่าวสารตามคําขอ โดยให้เหตุผลว่า เป็นเอกสารภายในของธนาคาร ซึ่งไม่เปิดเผยแก่บุคคลภายนอก
โดยข้อมูลข่าวสารรายการที่ ๒ และ ๓ ไม่มีอยู่ในความครอบครอง นายผิดหวังจึงอุทธรณ์ต่อคณะกรรมการวินิจฉัย
การเปิดเผยข้อมูลข่าวสาร
 
คณะกรรมการวินิจฉัยการเปิดเผยข้อมูลข่าวสารฯ วินิจฉัยสรุปว่า ธนาคารได้แจ้งเปิดเผยข้อมูลข่าวสาร
รายการที่ ๑ ให้ผู้อุทธรณ์ทราบแล้ว ตามหนังสือแจ้งเหตุผลการปฏิเสธคําขอสินเชื่อ แต่ยังไม่เปิดเผยบันทึกภายใน
ฉบับลงวันที่ ๒ มิถุนายน ๒๕๖๓ เมื่อการพิจารณาสินเชื่อเสร็จสิ้นลงแล้ว การเปิดเผยบันทึกภายในฉบับดังกล่าว
ให้ผู้อุทธรณ์ทราบในชั้นนี้จึงไม่เป็นอุปสรรคต่อการดําเนินการใด ๆ ของหน่วยงาน แต่ให้ปกปิดข้อมูลข่าวสารใน
ขอบเขตสิทธิส่วนบุคคลของบุคคลอื่น คือ ชื่อและนามสกุลของผู้จัดทําบันทึกภายในและผู้ประสานงาน ซึ่งอาจเป็น
การรุกล้ําสิทธิส่วนบุคคลโดยไม่สมควร ตามมาตรา ๑๕ (๕) แห่งพระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ.
๒๕๔๐ สําหรับข้อมูลข่าวสารรายการที่ ๒ และ ๓ หน่วยงานแจ้งว่าไม่มีข้อมูลข่าวสารอยู่ในความครอบครอง จึงไม่ใช่
การปฏิเสธการเปิดเผย ไม่อยู่ในอํานาจคณะกรรมการฯ ที่จะพิจารณาวินิจฉัย หากผู้อุทธรณ์ไม่เชื่อว่าหน่วยงานไม่มี
ข้อมูลข่าวสารดังกล่าว สามารถร้องเรียนต่อคณะกรรมการข้อมูลข่าวสารของราชการตามมาตรา ๑๓ ประกอบ
มาตรา ๓๓ แห่งพระราชบัญญัติเดียวกัน เพื่อให้ตรวจสอบได้ ส่วนข้อมูลข่าวสารรายการที่ ๔ เป็นข้อมูลข่าวสารการ
ปฏิบัติราชการตามปกติของหน่วยงานและไม่มีข้อความที่เข้าลักษณะอย่างหนึ่งอย่างใดที่หน่วยงานของรัฐหรือ
เจ้าหน้าที่ของรัฐอาจมีคําสั่งมิให้เปิดเผยได้ตามมาตรา ๑๕ ประกอบกับผู้อุทธรณ์เป็นผู้มีส่วนได้เสียโดยตรง จึง
สมควรได้รับทราบข้อมูลข่าวสารดังกล่าว
 
มีข้อสงสัยการปฏิบัติตามพระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ. ๒๕๔๐ หารือไปที่สํานักงาน
คณะกรรมการข้อมูลข่าวสารของราชการ สํานักงานปลัดสํานักนายกรัฐมนตรี ๐ ๒๒๘๓ ๔๖๗๗ www.oic.go.th
(ที่ สค ๔๘/๒๕๖๔) นายวรรธนพงศ์ คําดี ผู้อํานวยการส่วนส่งเสริมและเผยแพร่สิทธิรับรู้ข้อมูลข่าวสาร
 
                                                  “ข้อมูลโปร่งใส ราชการไทยไร้ทุจริต”
 
                                                                                                                บทความ อ. ๑๗/๒๕๖๔
                                                                                                                วรรธนพงศ์ คําดี
 
                                                    ขอตรวจสอบคู่สมรสของลูกหนี้
 
เรื่องหนี้สินของแต่ละคน ไม่ใช่จะมีปัญหาแค่ตัวลูกหนี้ แต่จะวุ่นวายไปถึงบุคคลในครอบครัวด้วย
เหมือนอย่างเรื่องนี้ อยู่ดี ๆ ทนายความก็จะมาขอตรวจสอบสถานะการสมรสของลูกหนี้เพื่อจะนําไปตรวจสอบ
ทรัพย์สินของคู่สมรสของลูกหนี้ จะขอได้แค่ไหนมาติดตามกันครับ
 
นายอํานาจ เป็นทนายความ รับมอบอํานาจจากนายเงิน เจ้าหนี้ของนาย A นาย B นาย C นาย D และนาย E
ลูกหนี้ตามสัญญาซื้อขาย ได้มีหนังสือถึงอําเภอ เพื่อขอข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับทะเบียนสมรสของลูกหนี้ทั้ง ๕ ราย เพื่อ
นําไปฟ้องร้องดําเนินคดีทางแพ่ง กรณีผิดสัญญาซื้อขาย อําเภอแจ้งปฏิเสธการเปิดเผยข้อมูลข่าวสารตามคําขอ โดย
ให้เหตุผลว่า นายอํานาจไม่ใช่บุคคลที่มีอํานาจหน้าที่ในการขอข้อมูลข่าวสารดังกล่าวได้ เนื่องจากเป็นข้อมูลทะเบียน
ประวัติ ผู้ที่จะมีอํานาจขอคัดต้องเป็นบุคคลที่มีหน้าที่แจ้งการต่าง ๆ ตามพระราชบัญญัติการทะเบียนราษฎร พ.ศ.
๒๕๓๔ หรือเป็นทายาทเจ้าของประวัติ หรือผู้รับมอบอํานาจจากเจ้าของประวัติ หรือส่วนราชการขอคัดตามมาตรา
๑๕ ประกอบกับเป็นข้อมูลข่าวสารส่วนบุคคล ห้ามมิให้เปิดเผยโดยไม่ได้รับความยินยอมเป็นหนังสือจากเจ้าของ
ข้อมูล ตามมาตรา ๒๔ แห่งพระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ. ๒๕๔๐ นายอํานาจจึงอุทธรณ์ต่อ
คณะกรรมการวินิจฉัยการเปิดเผยข้อมูลข่าวสาร
 
คณะกรรมการวินิจฉัยการเปิดเผยข้อมูลข่าวสารฯ วินิจฉัยสรุปว่า ทะเบียนสมรสของบุคคลทั้ง ๕ ราย
เป็นข้อมูลข่าวสารส่วนบุคคล ตามมาตรา ๔ แห่งพระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ. ๒๕๔๐ หน่วยงาน
ของรัฐจะเปิดเผยข้อมูลข่าวสารส่วนบุคคลที่อยู่ในความควบคุมของตนต่อผู้อื่นโดยปราศจากความยินยอมเป็น
หนังสือจากเจ้าของข้อมูลที่ให้ไว้ล่วงหน้าหรือในขณะนั้นมิได้ ตามมาตรา ๒๔ เมื่อไม่ปรากฏข้อเท็จจริงว่า บุคคลทั้ง
๕ ราย ได้ให้ความยินยอม หน่วยงานของรัฐจึงไม่สามารถเปิดเผยได้ ประกอบกับผู้อุทธรณ์ไม่ได้แสดงเหตุผลที่มี
น้ําหนักเพียงพอว่า การได้ข้อมูลข่าวสารดังกล่าวจําเป็นต่อการคุ้มครองสิทธิของผู้อุทธรณ์อย่างไร การเปิดเผยจะเป็น
การรุกล้ําสิทธิส่วนบุคคลโดยไม่สมควร ตามมาตรา ๑๕ (๕) แห่งพระราชบัญญัติเดียวกัน การที่อําเภอปฏิเสธการ
เปิดเผย จึงชอบแล้ว
 
มีข้อสงสัยการปฏิบัติตามพระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ. ๒๕๔๐ หารือไปที่สํานักงาน
คณะกรรมการข้อมูลข่าวสารของราชการ สํานักงานปลัดสํานักนายกรัฐมนตรี ๐ ๒๒๘๓ ๔๖๗๗ www.oic.go.th
(ที่ สค ๓/๒๕๖๔) นายวรรธนพงศ์ คําดี ผู้อํานวยการส่วนส่งเสริมและเผยแพร่สิทธิรับรู้ข้อมูลข่าวสาร
 
                                                 “เปิดเผยเป็นหลัก ปกปิดเป็นข้อยกเว้น”
 
                                                                                                                บทความ อ. ๑๘/๒๕๖๔
                                                                                                                         วรรธนพงศ์ คําดี
 
                                                                   มีสิทธิขอแต่ไม่ควรได้
 
กฎหมายว่าด้วยข้อมูลข่าวสารของราชการเป็นกฎหมายที่รับรองสิทธิในการเข้าถึงข้อมูลข่าวสารที่อยู่
ในความครอบครองของหน่วยงานของรัฐ แต่ในส่วนของข้อมูลข่าวสารส่วนบุคคล ก็มีการคุ้มครองเป็นพิเศษ แม้
กฎหมายไม่มีข้อจํากัดในการขอข้อมูลข่าวสาร แต่ก็มีข้อจํากัดในการเปิดเผยข้อมูลข่าวสารบางอย่าง มาดูเรื่องนี้ครับ
นายข้องใจ เป็นประชาชนธรรมดาคนหนึ่ง อยากรู้ว่าข้าราชการของสํานักการคลังของหน่วยงาน A
ได้รับเงินเดือนสุทธิกันคนละเท่าไหร่ จึงมีหนังสือถึงหน่วยงานขอข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับเอกสารหลักฐานการจ่าย
เงินเดือนของข้าราชการในหน่วยงาน A ประจําเดือนมกราคม ๒๕๖๓ หน่วยงานแจ้งปฏิเสธการเปิดเผยข้อมูล
ข่าวสาร โดยให้เหตุผลว่า เป็นข้อมูลข่าวสารส่วนบุคคล การเปิดเผยจะเป็นการรุกล้ําสิทธิส่วนบุคคลโดยไม่สมควร
ตามมาตรา ๑๕ แห่งพระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ. ๒๕๔๐ นายข้องใจจึงอุทธรณ์ต่อคณะกรรมการ
วินิจฉัยการเปิดเผยข้อมูลข่าวสาร
 
คณะกรรมการวินิจฉัยการเปิดเผยข้อมูลข่าวสารฯ วินิจฉัยสรุปว่า ข้อมูลข่าวสารตามอุทธรณ์คือ
เอกสารหลักฐานการจ่ายเงินเดือนของข้าราชการในหน่วยงาน A ประจําเดือนมกราคม ๒๕๖๓ ข้อมูลข่าวสาร
ดังกล่าวเป็นข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับสิ่งเฉพาะตัวของบุคคลอันจะทําให้ทราบถึงสถานะทางการเงินของบุคคลอื่น จึง
เป็นข้อมูลข่าวสารส่วนบุคคล ตามมาตรา ๔ แห่งพระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ. ๒๕๔๐ หน่วยงาน
ของรัฐจะเปิดเผยข้อมูลข่าวสารส่วนบุคคลที่อยู่ในความควบคุมดูแลของตนต่อบุคคลอื่นโดยปราศจากความยินยอม
เป็นหนังสือของเจ้าของข้อมูลมิได้ ตามมาตรา ๒๔ วรรคหนึ่ง ประกอบกับผู้อุทธรณ์มิได้แสดงเหตุผลว่าการได้ข้อมูล
ข่าวสารดังกล่าวจําเป็นต่อการปกป้องคุ้มครองสิทธิของผู้อุทธรณ์อย่างไร การเปิดเผยจึงเป็นการรุกล้ําสิทธิส่วนบุคคล
โดยไม่สมควร ตามมาตรา ๑๕ (๕) แห่งพระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ. ๒๕๔๐ การปฏิเสธการ
เปิดเผยของหน่วยงาน จึงชอบแล้ว
 
เรื่องนี้เป็นการขอข้อมูลข่าวสารส่วนบุคคลของบุคคลอื่นครับ จึงต้องได้รับความยินยอมเป็นหนังสือ
จากเจ้าของข้อมูลครับ มีข้อสงสัยการปฏิบัติตามพระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ. ๒๕๔๐ หารือไปที่
สํานักงานคณะกรรมการข้อมูลข่าวสารของราชการ สํานักงานปลัดสํานักนายกรัฐมนตรี ๐ ๒๒๘๓ ๔๖๗๗
www.oic.go.th
(ที่ สค ๑๗/๒๕๖๔) นายวรรธนพงศ์ คําดี ผู้อํานวยการส่วนส่งเสริมและเผยแพร่สิทธิรับรู้ข้อมูลข่าวสาร
 
                                                   “เปิดเผยเป็นหลัก ปกปิดเป็นข้อยกเว้น”
 
                                บทความ อ. ๑๙/๒๕๖๔
 วรรธนพงศ์ คําดี
 
เงินบริจาคอยู่ไหน
 
ข่าวคราวเกี่ยวกับการขอบริจาคเงินในรูปแบบต่าง ๆ มีการพูดถึงมากมายในโลกโซเชียล ส่วนใหญ่เป็น
เรื่องของบุคคลที่มีความเดือดร้อนก็ขอรับบริจาคเป็นการส่วนตัว แต่ถ้าหน่วยงานของรัฐเข้าไปยุ่งเกี่ยวกับการบริจาค
เราจะตรวจสอบได้แค่ไหน ไปดูกันครับ
 
เรื่องนี้ อําเภอ A เห็นว่า อําเภอมีพระพุทธศรีพิทักษ์ชน ซึ่งเป็นพระพุทธรูปสมัยทวาราวดี เป็นพระ
คู่บ้านคู่เมือง จึงได้ปรึกษากับประธานสภาวัฒนธรรมอําเภอและประธานชมรมกํานันผู้ใหญ่บ้านของอําเภอ เห็นควร
จัดให้มีพระพุทธศรีพิทักษ์ชนองค์จําลอง ประดิษฐานไว้ ณ ที่ว่าการอําเภอ A เพื่อให้ชาวบ้านได้บูชากราบไหว้ อําเภอ A
จึงมีคําสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการจัดงานพิธีเททองหล่อพระพุทธศรีพิทักษ์ชน (จําลอง) โดยมีตัวแทนจากหลายภาค
ส่วน ทั้งกํานัน ผู้ใหญ่บ้าน พ่อค้า และประชาชน ในงานมีการจัดทําเหรียญที่ระลึกและแผ่นทองมอบให้แก่ผู้มีจิต
ศรัทธาร่วมสร้างองค์พระ นายสงสัย เห็นว่ายอดเงินบริจาคน่าจะมีจํานวนมาก ก็เลยมีหนังสือถึงอําเภอ A ขอข้อมูล
ข่าวสารเกี่ยวกับค่าใช้จ่ายในการสร้างองค์พระ ๙ รายการ คือ ๑) ใบเสร็จรับเงินจากกํานัน ๑๐ ตําบล ที่มอบเงินให้
คณะกรรมการจัดงานฯ ๒) ใบเสร็จรับเงินจากบุคคลที่จ่ายเงินค่าจองเหรียญที่ระลึก ๓) รายชื่อบุคคลที่จ่ายเงินค่า
จองเหรียญที่ระลึก ๔) ใบเสร็จค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ในการจัดงาน และรายรับในการเช่าบูชาแผ่นทอง ๕) ใบเสร็จในการ
ซื้อของใช้ในงาน ๖) ใบเสร็จค่าแบบพิมพ์องค์พระ ๗) ใบเสร็จการจ่ายเงินค่าหล่อเหรียญ ค่ากล่อง ค่าแผ่นทอง ๘)
ใบเสร็จค่าใช้จ่ายเบ็ดเตล็ด ค่าบายศรี ค่าพราหมณ์ เครื่องไทยธรรม ๙) ใบเสร็จค่าหล่อหุ่นขี้ผึ้ง หน่วยงานแจ้งปฏิเสธ
การเปิดเผยข้อมูลข่าวสาร โดยให้เหตุผลว่า การจัดงานดังกล่าวเป็นในรูปคณะกรรมการ มิได้ดําเนินงานโดย
หน่วยงานของรัฐ คณะกรรมการฯ เป็นตัวแทนจากหลายภาคส่วนมิได้เป็นหน่วยงานของรัฐ อีกทั้งนายสงสัยมิได้เป็น
ผู้มีส่วนได้เสียในการจัดงาน นายสงสัยจึงอุทธรณ์ต่อคณะกรรมการวินิจฉัยการเปิดเผยข้อมูลข่าวสาร
 
คณะกรรมการวินิจฉัยการเปิดเผยข้อมูลข่าวสารฯ วินิจฉัยสรุปว่า ข้อมูลข่าวสารทั้ง ๙ รายการ เป็น
ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับค่าใช้จ่ายในการจัดสร้างพระพุทธศรีพิทักษ์ชน (จําลอง) ตามคําสั่งของอําเภอ A เรื่องแต่งตั้ง
คณะกรรมการจัดงานฯ เมื่อข้อมูลข่าวสารดังกล่าวอยู่ในความครอบครองของอําเภอ A จึงเป็นข้อมูลข่าวสารของ
ราชการตามมาตรา ๔ แห่งพระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ. ๒๕๔๐ เมื่อข้อมูลข่าวสารทั้ง ๙ รายการ
ไม่มีข้อความที่เข้าลักษณะอย่างหนึ่งอย่างใดที่หน่วยงานของรัฐหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐอาจมีคําสั่งมิให้เปิดเผยได้ตาม
มาตรา ๑๕ แห่งพระราชบัญญัติเดียวกัน การเปิดเผยจะแสดงให้เห็นถึงความโปร่งใสและตรวจสอบได้ของอําเภอ
จึงวินิจฉัยให้อําเภอ A เปิดเผยข้อมูลข่าวสารทั้ง ๙ รายการ แก่ผู้อุทธรณ์
 
มีข้อสงสัยการปฏิบัติตามพระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ. ๒๕๔๐ หารือไปที่สํานักงาน
คณะกรรมการข้อมูลข่าวสารของราชการ สํานักงานปลัดสํานักนายกรัฐมนตรี ๐ ๒๒๘๓ ๔๖๗๗ www.oic.go.th
(ที่ สค ๓๔/๒๕๖๔) นายวรรธนพงศ์ คําดี ผู้อํานวยการส่วนส่งเสริมและเผยแพร่สิทธิรับรู้ข้อมูลข่าวสาร
 
                                                                            “ข้อมูลโปร่งใส ราชการไทยไร้ทุจริต”
 
บทความ อ. ๒๐/๒๕๖๔
วรรธนพงศ์ คําดี
 
มีจรรยาบรรณหรือเปล่า
 
เรื่องนี้เจ้าหน้าที่โรงพยาบาลไม่ได้เลื่อนเงินเดือนทั้ง ๆ ที่ผลการประเมินอยู่ในเกณฑ์ดี เลยมีการ
ร้องเรียนขอตรวจสอบจรรยาบรรณผู้บังคับบัญชา แต่ปรากฏว่าหน่วยงานสรุปว่าไม่ผิดจรรยาบรรณ เจ้าหน้าที่ผู้นี้เลย
ขอรายละเอียดและเหตุผลในการดําเนินการทางจรรยาบรรณดังกล่าว
 
แพทย์หญิง A ของโรงพยาบาลแห่งหนึ่งร้องเรียนต่อมหาวิทยาลัย ซึ่งเป็นต้นสังกัดของโรงพยาบาล
ขอให้ตรวจสอบจรรยาบรรณของนายแพทย์ B ซึ่งเป็นผู้บังคับบัญชาว่า ใช้ดุลพินิจไม่เลื่อนเงินเดือนให้แพทย์หญิง A
ทั้งที่ผลการประเมินอยู่ในเกณฑ์ดี มหาวิทยาลัยได้แต่งตั้งคณะกรรมการจรรยาบรรณและวินัย ตรวจสอบเรื่อง
ดังกล่าว ผลการสอบสวนปรากฏว่า การกระทําของนายแพทย์ B ไม่เป็นการผิดจรรยาบรรณ แพทย์หญิง A จึงมี
หนังสือถึงมหาวิทยาลัย ขอรายละเอียดและเหตุผลประกอบข้อสรุปการดําเนินการทางจรรยาบรรณดังกล่าว
หน่วยงานแจ้งปฏิเสธการเปิดเผยโดยให้เหตุผลว่า รายงานการสอบข้อเท็จจริงทางจรรยาบรรณเป็นข้อมูลข่าวสารในการ
ทําความเห็นหรือคําแนะนําภายในหน่วยงาน จึงไม่ต้องเปิดเผยตามมาตรา ๑๕ (๓) แห่งพระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสาร
ของราชการ พ.ศ. ๒๕๔๐ แพทย์หญิง A จึงอุทธรณ์ต่อคณะกรรมการวินิจฉัยการเปิดเผยข้อมูลข่าวสาร
 
คณะกรรมการวินิจฉัยการเปิดเผยข้อมูลข่าวสารฯ วินิจฉัยสรุปว่า ข้อมูลข่าวสารตามอุทธรณ์ ปรากฏ
ตามรายงานการสอบจรรยาบรรณและวินัย จํานวน ๙ แผ่น ข้อมูลข่าวสารดังกล่าวไม่มีข้อความที่เข้าลักษณะอย่าง
หนึ่งอย่างใดที่หน่วยงานของรัฐหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐอาจมีคําสั่งมิให้เปิดเผยได้ตามมาตรา ๑๕ แห่งพระราชบัญญัติ
ข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ. ๒๕๔๐ ประกอบกับผู้อุทธรณ์เป็นผู้มีส่วนได้เสียในฐานะเป็นผู้ถูกประเมิน จึงสมควรที่
จะได้รับทราบข้อมูลข่าวสารดังกล่าวเพื่อปกป้องสิทธิของตน การเปิดเผยจะแสดงให้เห็นถึงความโปร่งใสและตรวจสอบ
ได้ของมหาวิทยาลัย จึงวินิจฉัยให้เปิดเผยข้อมูลข่าวสารตามคําขอแก่ผู้อุทธรณ์
 
มีข้อสงสัยการปฏิบัติตามพระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ. ๒๕๔๐ หารือไปที่สํานักงาน
คณะกรรมการข้อมูลข่าวสารของราชการ สํานักงานปลัดสํานักนายกรัฐมนตรี ๐ ๒๒๘๓ ๔๖๗๗ www.oic.go.th
(ที่ สค ๓๒/๒๕๖๔) นายวรรธนพงศ์ คําดี ผู้อํานวยการส่วนส่งเสริมและเผยแพร่สิทธิรับรู้ข้อมูลข่าวสาร
 
                                                                          “ข้อมูลโปร่งใส ราชการไทยไร้ทุจริต”